วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555


จิตวิทยาการการเรียนการสอน
ความหมายของ จิตวิทยาการการเรียนการสอนจิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology   มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phycheแปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา   ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ  แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์

การเรียนรู้  (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์  พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้  ได้แก่ ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ

จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง
อย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้

             2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์ (โบเวอร์ และอัลการ์ด 1987, อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน,2532:285) ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้
            
             ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์   และฮิลการ์ด    ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน (Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์

             การเรียนรู้ของคนเรา เกิดจากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนดังที่ กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530) กล่าวไว้ดังนี้

             "…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า (stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (organism) ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ (sensation) ด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญชาน หรือการรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้ว ก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป (conception) แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง (response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…"

             การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn"หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี


ความสำคัญของจิตวิทยาการการเรียนการสอน
ความสำคัญของวิชาจิตวิทยา
 ความสำคัญของวิชาจิตวิทยา  อาจพิจารณาเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
             1. เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ตลอดจนพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและเชาว์ปัญญา
                            2.  เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจพฤติกรรมต่างๆ ของตนเองและผู้อื่น
                            3.  เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการแก้ปัญหาของตนเอง
                            4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการปรับตัว  สามารถเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุขและไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
เพื่อให้นักศึกษามีความตระหนักถึงความสำคัญของจิตวิทยา   และการนำจิตวิทยาไป
ประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต  การประกอบอาชีพและการทำงานต่างๆ  ได้อย่างเป็นสุข
                วิชาจิตวิทยาทำให้บุคคลสามารถเข้าใจตนเอง วิเคราะห์ตนเองออกทั้งในส่วนที่ดีและส่วนที่ด้อยของตัวเรา โดยที่บุคคลจะต้องเข้าใจตนเอง รักตนเอง ยอมรับความเป็นตนเองก่อนและเมื่อนั้นบุคคลก็จะเข้าใจความเป็นบุคคลของคนอื่นเช่นกันและพร้อมที่จะเข้าใจผู้อื่นรักผู้อื่นและยอมรับความเป็นบุคคลของผู้อื่น ในความเป็นจริงหลายคนที่ยังรักตนเองให้อภัยตนเองได้ไม่ว่าตนเองจะทำผิดสักแค่ไหนแต่ไม่สามารถรับคนอื่นได้ มองคนอื่นด้อยกว่าตนหรือมองคนอื่นผิดมองตนเองถูกสังคมจึงเกิดปัญหาวุ่นวายเดือดร้อน ดังนั้นการที่เราศึกษาวิชาจิตวิทยาจะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ว่ามนุษย์มีธรรมชาติเป็นอย่างไร ในความเป็นมนุษย์เราคงต้องยอมรับสภาพทางกายภาพทั่วไปว่ามนุษย์ทุกผู้ทุกนามมีเกิด แก่ เจ็บ และตายเป็นธรรมดาตัวเราก็อยู่ในสภาพนี้ผู้อื่นก็อยู่ในสภาพนี้เช่นเดียวกับเรา ความเป็นมนุษย์มีรูปแบบที่เหมือนๆ กัน ถ้าเราบอกว่าไม่ชอบบุคคล เพราะสาเหตุตามที่เราคิดตามที่เราตัดสินเราก็คิดเข้าข้างตัวเราเองโดยไม่มองภาพรวมของความเป็นมนุษย์ความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และไม่เข้าใจสัจธรรมของความมีชีวิตอย่างแท้จริงโดยใช้มาตรฐานของตัวเองไปตัดสินใจแทนคนอื่นและกล่าวโทษว่าคนอื่นไม่ดีแต่ตัวเองดีแล้วคงจะหาแนวคิดใดที่มาอธิบายเรื่องนี้ได้ไม่ยากนัก หากนักศึกษาได้ศึกษาวิชาจิตวิทยาให้เข้าใจเพราะวิชานี้จะอธิบายธรรมชาติของมนุษย์ อารมณ์ ความรู้สึก ความปรารถนาและความต้องการของมนุษย์แต่ไม่ได้หมายความว่าวิชาจิตวิทยาเป็นวิชาที่ดีที่สุด ยังมีอีกหลายวิชาที่เข้ามาช่วยและส่งเสริมให้นักศึกษามีความเข้าใจธรรมชาติของความเป็นมนุษย์อีกมากมายเช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา สังคม ศิลปะ ดนตรี เป็นต้น
               

               ความสำคัญของวิชาจิตวิทยายังสามารถทำให้บุคคลยอมรับตนเอง ยอมรับผู้อื่น รักตนเองและรักผู้อื่น ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อเรื่องมนุษย์มีความแตกต่างกัน การที่มนุษย์มีความแตกต่างกันจึงทำให้เราแต่ละคนไม่เหมือนกัน หลายคนหลายความคิดแต่การจะอยู่ร่วมกันให้ชีวิตมีคุณค่า บุคคลควรยอมรับในความแตกต่างของบุคคลและพร้อมที่จะเคารพความเป็นมนุษย์เสมอกันหรืออาจกล่าวได้ว่าจิตวิทยาให้ความสำคัญแก่บุคคลทุกคนเสมอกัน


ขั้นตอนการเกิด จิตวิทยาการการเรียนการสอน
   จิตวิทยา เป็นศาสตร์ที่มีคนสนใจมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณก่อนคริสต์กาล  มีนักปรัชญาชื่อ   พลาโต (Plato  427 – 347ก่อนคริสต์กาล) อริสโตเติล (Aristotle  384 – 322  ก่อนคริสต์กาล)  ได้กล่าวถึงธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงรัชญามากกว่าแนวคิดทางวิทยาาสตร์  การศึกษาในยุคนั้นเป็นแบบเก้าอี้โต๊ะกลมหรือเรียกว่า  Arm  Chair  Method  เรียกจิตวิทยาในยุคนั้นว่า จิตวิทยายุคเก่าเพราะนักจิตวิทยานั่งศึกษาอยู่กับโต๊ะทำงาน โดยใช้ความคิดเห็นของตนเองเพียงอย่างเดียวไม่มีการทดลอง ไม่มีการวิเคราะห์ใดๆ ทั้งสิ้น ต่อมาอริสโตเติลได้สนใจจิตวิทยาได้ทำการศึกษาและ ได้เขียนตำราเล่มแรกของโลกเป็นตำราที่ว่าด้วยเรื่อง วิญญาณชื่อ  De  Anima  แปลว่า  ชีวิต  เขากล่าวว่า  วิญญาณเป็นต้นเหตุให้คนต้องการเรียนจิตวิทยา คนในสมัยโบราณจึงศึกษาจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าวิญญาณจะสิงอยู่ในร่างกายของมนุษย์ขณะมีชีวิตอยู่  เมื่อคนสิ้นชีวิตก็หมายถึงร่างกายปราศจากวิญญาณและวิญญาณออกจากร่างล่องลอยไปชั่วระยะหนึ่ง แล้วอาจจะกลับสู่ร่างกายคืนอีกได้ และเมื่อนั้นคนๆ นั้นก็จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกชาวกรีกจึงมีการคิดค้นวิธีการป้องกันศพไม่ให้เน่าเปื่อยที่เรียกว่ามัมมี่เพื่อคอยการกลับมาของวิญญาณ   ต่อมาประมาณศตวรรษที่  11 -  12  ได้เกิดลัทธิความจริง (Realism)  เป็นลัทธิที่เชื่อสภาพความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ  และลัทธิความคิดรวบยอด  (Conceptualism) ที่กล่าวถึงความคิดที่เกิดหลังจากได้วิเคราะห์พิจารณาสิ่งต่างๆ  ถี่ถ้วนแล้ว  จากลัทธิทั้งสองนี้เองทำให้ผู้คนมีความคิดมากขึ้นมีการคิด วิเคราะห์ ไตร่ตรอง จึงเป็นเหตุให้ผู้คนเริ่มหันมาสนใจในทางวิทยาศาสตร์  และจึงเริ่มมาสนใจในเรื่องจิตวิทยาในเชิงวิทยาศาสตร์มากขึ้นในขณะเดียวกันก็ยังสนใจศึกษาเรื่องจิตมากขึ้นด้วย  รวมทั้งให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับเรื่องจิตสำนึก  (Conscious)  อันได้แก่ การมีสมาธิ  การมีสติสัมปชัญญะ  และเชื่อว่าจะเป็นมนุษย์ได้จะต้องประกอบไปด้วย  ร่างกายกับจิตใจ  จึงมีคำพูดติดปากว่า  “A Sound  mind  is  in  a  sound  body”  จิตที่ผ่องใสอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์   ความสนใจเรื่องจิตจึงมีมากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ยังเชื่อว่า จิต แบ่งสามารถเป็นส่วนๆ  ได้แก่ความคิด  (Idea)  จินตนาการ  (Imagine)  ความจำ  (Memory)  การรับรู้  (Concept)  ส่วนที่สำคัญที่สุดเรียกว่า  Faculty  of  will  เป็นส่วนหนึ่งของจิตที่สามารถสั่งการเคลื่อนไหวต่างๆ  ของร่างกายต่อมา  Norman  L. Mummมีความสนใจเรื่องจิต เขากล่าวว่า  จิตวิทยา คือ การศึกษาเรื่องจิต  ในปี  ค.ศ.  1590   คำว่า  Psychology   จึงเป็นที่รู้จักและสนใจของคนทั่วไป
               จอห์น  ลอค  (John  Locke  ค.ศ.  1632 - 1704)  ได้ชื่อว่าเป็น บิดาจิตวิทยาแผนใหม่  เขาเชื่อว่า  ความรู้สึกตัว  ( Conscious )  และสิ่งแวดล้อมเป็นตัวที่มีอิทธิพลต่อจิต
               ในศตวรรษที่  19  เป็นยุคแห่งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  มีผู้คิดทฤษฎีต่าง ๆ  ทางจิตวิทยาขึ้น       มากมายและที่สำคัญคือ  วิลเฮล์ม  แมกซ์  วู้นท์  (Wilhelm  Max  Wundt  ค.ศ.  1832 – 1920) ได้สร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาและเริ่มมีการทดลองขึ้นที่เมือง  Leipzig  ประเทศเยอรมัน  เขาได้ทดลองเกี่ยวกับเรื่องความรู้สึก การจิตนาการ การคิดหาเหตุผลจนได้รับสมญาว่า  บิดาแห่งจิตวิทยาทดลองนับเป็นการเริ่มต้นในการศึกษาจิตวิทยาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นต้นมา อาจกล่าวได้ว่า วิชาจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่ง ที่ได้รับการยอมรับและวิธีการศึกษาก็ใช้แนวทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ทฤษฎี การทดลอง การหาเหตุผลตลอดจนการวิเคราะห์พฤติกรรม 
              วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา การศึกษาทางจิตวิทยาใช้หลายๆ วิธีการมาผสมผสานและทำการวิเคราะห์บนสมมุติฐาน นักจิตวิทยาจะใช้วิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้เช่น การตรวจสอบตนเอง  การสังเกต  การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี  การสัมภาษณ์  การทดสอบ  ดังจะอธิบายเรียงตามลำดับต่อไปนี้
                1.  การตรวจสอบตนเอง (Introspection)  หมายถึง  วิธีการให้บุคคลสำรวจ ตรวจสอบตนเองด้วยการย้อนทบทวนการกระทำและความรู้สึกนึกคิดของตนเองในอดีต ที่ผ่านมา  แล้วบอกความรู้สึกออกมา  โดยการอธิบายถึงสาเหตุและผลของการกระทำในเรื่องต่าง ๆ  เช่น  ต้องการทราบว่าทำไมเด็กนักเรียนคนหนึ่งจึงชอบพูดปดเสมอ ๆ  ก็ให้เล่าเหตุหรือเหตุการณ์ในอดีต  ที่เป็นสาเหตุให้มีพฤติกรรมเช่นนั้นก็จะทำให้ทราบที่มาของพฤติกรรมและได้แนวทางในการที่จะช่วยเหลือแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวได้
                การตรวจสอบตนเองจะได้รับข้อมูลตรงตามความเป็นจริงและเป็นประโยชน์  เพราะผู้รายงานที่มีประสบการณ์และอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ แต่หากผู้รายงานจดจำเหตุการณ์ได้แม่นยำ  และมีความจริงใจในการรายงานอย่างซื่อสัตย์ไม่ปิดบัง  และบิดเบือนความจริง  แต่หากผู้รายงานจำเหตุการณ์หรือเรื่องราวไม่ได้หรือไม่ต้องการรายงานข้อมูลที่แท้จริงให้ทราบก็จะทำให้การตี ความ หมายของเรื่องราวต่างๆ หรือเหตุการณ์ผิดพลาดไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
               2. การสังเกต  (Observation)  หมายถึง  การเฝ้าดูพฤติกรรมในสถานการณ์ที่เป็นจริง อย่างมีจุดมุ่งหมาย  โดยไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว  การสังเกตแบ่งเป็น  2  ลักษณะคือ
                      2.1  การสังเกตอย่างมีแบบแผน  ( Formal  Observation )  หมายถึง  การสังเกตที่มีการเตรียมการล่วงหน้า  มีการวางแผน  มีกำหนดเวลา  สถานการณ์  สถานที่ พฤติกรรมและบุคคลที่จะสังเกต ไว้เรียบร้อยเมื่อถึงเวลาที่นักจิตวิทยาวางแผนก็จะเริ่มทำการสังเกตพฤติกรรมตามที่กำหนดและผู้สังเกตพฤติกรรมจะจดพฤติกรรมทุกอย่างในช่วงเวลานั้นอย่างตรงไปตรงมา
                      2.2  การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน  ( Informal  Observation )  หมายถึง  การสังเกตโดยไม่ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าหรือวางแผนล่วงหน้า  แต่สังเกตตามความสะดวกของผู้สังเกตคือจะสังเกตช่วงเวลาใดก็ได้แล้วทำการจดบันทึกพฤติกรรมที่ตนเห็นอย่างตรงไปตรงมา
                การสังเกตช่วยให้ได้ข้อมูลละเอียด  ชัดเจน  และตรงไปตรงมา  เช่น  การสังเกต อารมณ์  ความรู้สึกของบุคคลต่อสถานการณ์ต่าง    จะทำให้เห็นพฤติกรรมได้ชัดเจนกว่าการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการอื่น    แต่การสังเกตที่ดีมีคุณภาพ  มีส่วนประกอบหลายอย่าง  เช่น  ผู้สังเกตจะต้องมีใจเป็นกลางไม่อคติหรือลำเอียงอย่างหนึ่งอย่างใด  และสังเกตได้ทั่วถึง  ครอบคลุม  สังเกตหลาย ๆ  สถานการณ์หลาย ๆ หรือหลายๆ  พฤติกรรม  และใช้เวลาในการสังเกต ตลอดจนการจดบันทึกการสังเกตอย่างตรงไปตรงมา  และแยกการบันทึกพฤติกรรมจากการตีความไม่ปะปนกัน  ก็จะทำให้การสังเกตได้ข้อมูลตรงตาม   ความเป็นจริงและนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดมุ่งหมาย
                3.  การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี  (Case Study)  หมายถึง  การศึกษารายละเอียดต่าง ๆที่สำคัญของบุคคล แต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง  แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์พิจารณา  ตีความเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรม  หรือลักษณะพิเศษที่ผู้ศึกษาต้องการทราบทั้งนี้เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือแก้ไขปรับปรุง ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมให้เป็นไปในทาง  สร้างสรรค์ที่สำคัญของบุคคล  แต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง  แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์พิจารณา  ตีความเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรม  หรือลักษณะพิเศษที่ผู้ศึกษาต้องการทราบ  ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลพัฒนาตนเต็มศักยภาพแห่งตน
               การสัมภาษณ์ที่ดี  จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดต่าง ๆ  ของผู้ที่ต้องการศึกษาตั้งแต่เรื่องประวัติ  เรื่องราวของครอบครัว  ประวัติพัฒนาการ  ประวัติสุขภาพ  ความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน  ความสนใจ  ความถนัด  เป็นต้น  และในการรวบรวมข้อมูลอาจใช้เทคนิควิธีต่าง ๆ  เข้ามาช่วยด้วย  เช่น  การสังเกต  การสัมภาษณ์  การใช้แบบทดสอบ  เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อเป็นการประมวลให้ได้ข้อมูลให้ละเอียดและตรงจุดให้มากที่สุด
               4.  การสัมภาษณ์  (Interview)  หมายถึง  การสนทนากันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป  โดยมีจุดมุ่งหมาย  ซึ่งการสัมภาษณ์ก็มีหลายจุดมุ่งหมาย  เช่น  การสัมภาษณ์เพื่อความคุ้นเคยสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน  สัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ  ตลอดจนสัมภาษณ์เพื่อการแนะแนวและการให้คำปรึกษา เป็นต้น  แต่ทั้งการสัมภาษณ์ก็เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ  เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
               การสัมภาษณ์ที่ดี  จำเป็นต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า  วางแผน  กำหนดสถานที่  เวลาและเตรียมหัวข้อหรือคำถามในการสัมภาษณ์  และนอกจากนั้นในขณะสัมภาษณ์ผู้สัมภาษณ์ควรจะใช้เทคนิคอื่น ๆ  ประกอบด้วยก็ยิ่งจะได้ผลดี  เช่น  การสังเกต  การฟัง  การใช้คำถาม  การพูด  การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้สัมภาษณ์และผู้สัมภาษณ์  ก็จะช่วยให้การสัมภาษณ์ได้ดำเนินไปด้วยดี
5. การทดสอบ (Testing) หมายถึง การใช้เครื่องมือที่มีเกณฑ์ในการวัดลักษณะของ        พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งหรือหลายๆ  พฤติกรรมโดยให้ผู้รับการทดสอบเป็นผู้ตอบสนองต่อแบบทดสอบซึ่งอาจเป็นแบบทดสอบภาษาและแบบปฏิบัติการหรือลงมือทำ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลนั้นตามจุดมุ่งหมายที่ผู้ทดสอบวางไว้แบบทดสอบที่นำมาใช้ในการทดสอบหาข้อมูลก็ได้แก่  แบบทดสอบบุคลิกภาพ  แบบทดสอบความสนใจ  เป็นต้น
               การทดสอบก็มีสิ่งที่ควรคำนึงถึงเพื่อผลของข้อมูลที่ได้รับ  ซึ่งแบบทดสอบที่นำมาใช้ควรเป็นแบบทดสอบที่เชื่อถือได้เป็นมาตรฐาน  ตลอดจนการแปรผลได้อย่างถูกต้อง  เป็นต้น
            6.  การทดสอบ  (Experiment)  หมายถึง  วิธีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ  มีขั้นตอนและเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งมีลำดับขั้นตอนดังนี้  ตั้งปัญหา  ตั้งสมมุติฐาน  การรวบรวมข้อมูล        การทดสอบสมมุติฐาน  การแปลความหมายและรายงานผล  ตลอดจนการนำผลที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือส่งเสริมต่อไปการทดลองจึงเป็นการจัดสภาพการณ์ขึ้นมา เพื่อดูผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มหรือสถานการณ์  คือ
1.  กลุ่มทดลอง  (Experiment  Group)  คือ  กลุ่มที่ได้รับการจัดสภาพการณ์ทดลองเพื่อศึกษาผลที่ปรากฏจากสภาพนั้น  เช่น  การสอนด้วยเทคนิคระดมพลังสมอง  จะทำให้กลุ่มเกิดความคิดสร้างสรรค์หรือไม่
            2.  กลุ่มควบคุม  (Control  Group)  คือ  กลุ่มที่ไม่ได้รับการจัดสภาพการณ์ใด    ทุกอย่างถูกควบคุมให้คงภาพเดิม  ใช้เพื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง สิ่งที่ผู้ทดลองต้องการศึกษาเรียกว่า ตัวแปร ซึ่งมีตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น  (Independent  Variable)  และตัวแปรตาม  ( Dependent  Variable )